Latest Post

ประกันสินค้า

การรับประกันสินค้าของเราแบ่งตามประเภทสินค้า โดยโปรดดูไอคอนใต้สินค้าว่าสินค้านั้นมีการรับประกันแบบใด
รับประกันสินค้า เปลี่ยนตัวใหม่ภายใน 7 วัน หากสินค้าที่ซื้อจากเราไปชำรุดเสียหาย ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ ที่ระบุอยู่บน void รับประกันสินค้า เรารับประกันเปลี่ยนตัวใหม่ให้ทันที
และ
รับประกันสินค้า 1 ปีเต็ม หากสินค้าที่ซื้อจากเราไปชำรุดเสียหาย ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ ที่ระบุอยู่บน void รับประกันสินค้า เรารับประกันซ่อมแซมให้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้ง ค่าแรงและค่าอะไหล่

การรับประกันสินค้าจะสิ้นสุดลงเมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้
1.สินค้าถูกนำไปใช้อย่างผิดวิธี หรือใช้ด้วยความประมาท
2.ความเสียหายอันเกิดจาก ภัยธรรมชาติ หรือ อุบัติเหตุ
3. ตัวสินค้าถูกแกะออก, แยกชิ้นส่วน, ถูกดัดแปลง หรือแก้ไข โดยบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าหน้าที่ของ เนชั่น บอร์ด แอนด์ มีเดีย
4. Void รับประกันสินค้าถูกแก้ไข, สูญหาย, ถูกแกะออก หรือ มีร่อยรอยของการพยายามแกะออก
*** เนชั่นบอร์ดแอนด์มัเดีย มีสิทธิ์ในการตรวจสอบความเสียหายของสินค้า ว่าเกิดจากสาเหตุใด ***

-- การรับประกันไม่ครอบคลุมถึง แบตตารี่, บัลลาสต์ และหลอดไฟ
-- ลูกค้าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการส่งและรับสินค้าเอง หรือ เว้นแต่ตกลงเป็นอย่างอื่น
-- ในวันส่งสินค้าซ่อมลูกค้าควรนำใบเสร็จมาด้วย เพื่อความสะดวกในการให้บริการ
-- การชำรุดเสียหายที่รวมอยู่ในประกันหมายถึง การที่สินค้าไม่สามารถใช้การได้ตามที่ควรจะเป็น ความเสียหายเพียงเล็กน้อยเช่น รอยถลอก, รอยบุบ แต่ สินค้ายังใช้การได้ ไม่นับรวมอยู่ในการประกัน


ประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษาคืออะไร

การประกันคุณภาพ คือ การดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ การบริการ / การจัดการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง คือ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม คือ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ การประกันคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการ "ป้องกัน" ไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้การจัดการศึกษายึดหลักให้มีมาตรฐาน และมีการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมาตรฐานการศึกษา หมายถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และ มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
สำหรับการประกันคุณภาพแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. การประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น เอง ถือได้ว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึงการประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เข้ามาทำหน้าที่ประเมินผลการจัดการศึกษา และทำการตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษา เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งหมายความว่า สถานศึกษาทุกแห่งในประเทศไทย จะต้องได้รับการรับรองจาก สมศ. ว่าสถานศึกษาจัดการศึกษาได้มาตรฐาน คุณภาพ ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 กำหนด โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การประเมิน มีความสมดุลระหว่างเกณฑ์ที่กำหนด กับงานที่สถานศึกษาดำเนินการ
การประกันคุณภาพการศึกษาคืออะไร

การประกันคุณภาพ คือ การดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ การบริการ / การจัดการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง คือ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม คือ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ การประกันคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการ "ป้องกัน" ไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ (จุลสาร สมศ. ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2544)
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้การจัดการศึกษายึดหลักให้มีมาตรฐาน และมีการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมาตรฐานการศึกษา หมายถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และ มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
สำหรับการประกันคุณภาพแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. การประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น เอง ถือได้ว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึงการประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เข้ามาทำหน้าที่ประเมินผลการจัดการศึกษา และทำการตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษา เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งหมายความว่า สถานศึกษาทุกแห่งในประเทศไทย จะต้องได้รับการรับรองจาก สมศ. ว่าสถานศึกษาจัดการศึกษาได้มาตรฐาน คุณภาพ ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 กำหนด โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การประเมิน มีความสมดุลระหว่างเกณฑ์ที่กำหนด กับงานที่สถานศึกษาดำเนินการ
ข้อมูลเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาดูเพิ่มเติมที่ คู่มือการประกันคุณภาพสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ของ สกอ.


การประกันภัยเบ็ดเล็ด

การประกันภัยเบ็ดเล็ด เป็นการประกันภัยเบ็ดเตล็ดเป็นประเภทหนึ่งของการประกันวินาศภัย การประกันภัยเบ็ดเตล็ดที่มีอยู่ในประเทศไทยป็จุบันนี้มีจำนวนหลายชนิด ประกอบกับการมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขซับซ้อน จึงควรที่จะได้ศึกษาถึงรายละเอียดอันเป็นสาระสำคัญของการประกันภัยประเภทนี้ให้เข้าใจดังนี้

  • การประกันภัยเบ็ดเตล็ด คือการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุ หรือเกิดจากเหตุที่มิได้คาดหมายไว้ ซึ่งอยู่นอกเหนือความคุ้มครอง จากการประกันภัยอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง การประกันภัยรถยนต์การประกันภัยเบ็ดเตล็ดที่มีขายอยู่ใตตลาดประกันภัยในประเทศไทยมีมากกว่า 41 ประเภท ซึ่งจะได้ยกตัวอย่างการประกันภัยดังกล่าวบางประเภท ๆ พอสังเขปดังนี้ 
  • การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล  ประกันภัยชนิดนี้นั้นให้ความคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากป้จจัยภายนอกร่างกายของผู้เอาประกันภัยโดยอุบัตืเหตุ 
  • การประกันภัยความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ประกันภัยชนิดนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ซึ่งเป็นการกระทำที่ผู้เอาประกันภัยได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอก การประกันภัยนี้จึงหมายถึงประกันภัยที่บริษัทผู้รับประกันภัยสัญญาว่า จะรับผิดชดใช้สินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายในนามผู้เอาประกันภัย ซึ่งมีอยู่หลายประเภทดังนี้  การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ, การประกันภัยความรับผิดจากผลิดภัณฑ์, การประกันภัยความรับผิดจากวิชาชีพ , การประกันภัยความรับผิดชอบส่วนบุคคล, การประกันภัยการเสี่งภัยทุกชนิด, การประกันภัยสำหรับวิศวกรรม, การประกันภัยเครื่องจักรชำรุดเสียหาย,การประกันภัยทุกชนิดในการติดตั้งเครื่องจักร, การประกันภัยทุกชนิดของผู้รับเหมาก่อสร้าง, การประกันภัยปศุสัตว์, การประกันภัยเพื่อชดเชยผู้เล่นกล์ฟ, การประกันภัยเงินค่าทดแทนแรงงาน, การประกันภัยทรัพย์สินเนื่องจากโจรกรรม, การประกันภัยโจรกกรม, การประกันภัยสำหรับเงิน, การประกันภันโจรกรรมการขนย้ายเงินสด, การประกันภัยโจรกรรมเครืื่องใช้สำนักงาน, การประกันภัยความซื่อสัตย์, การประกันภัยพืชผล, การประกันภัยกำไร 
  • การประกันภัยต่อ หมายถึง การกระจายการเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยผู้รับประกันภัยด้วยกันเองเนื่องจากความสามารถในการรับความเสี่ยงภัยไว้เองของบริษัทมีจำกัด จึงกระจายความเสี่ยงภัยส่วนที่เหลือไปให้กับผู้รับประกันภัยอื่น ๆ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การประกันภัยต่อแบบเฉพาะราย และ การประกันภัยต่อตามสัญญา 

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง คือ การประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบก ซึ่งต่อเนื่องกับขนส่งทางทะเลด้วยซึ่งแบ่งออกได่เป็น 2 ประการคือ
  • การประกันภัยตัวเรือ เป็นการคุ้มครองความเสียหายต่อตัวเรือจากอุบัติเหตุๆ เช่น ภัยจากลม  พายุเรือเกยตื้น เรือชนกัน เรื่อชนหินโสโครก เป็นต้น และยังหมายความรวมไปถึงการประกันค่าระวางด้วย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีเรือหลายลำ ก็อาจเอาประกันภัยเรือหลายลำในกรมธรรม์ฉบับเดียวกันได้ โดยกรมธรรม์จะระบุชื่อเรือและจำนวนเรืออยู่ในกรมธรรม์ฉบับเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เอาประกันภัยเสียเบี้ยประกันภัยถูกลง และโดยผลของการเฉี่ยภัยทำให้สามารถประกันเรือหลายลำที่มีลักษณะต่ำกว่ามาตรฐานได้ด้วย 
  • การประกันภัยสินค้า  เป็นการคุ้มครองสินค้าที่เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล ภัยที่ได้รับการคุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อความคุ้มครองไว้

ประกันวินาศัย

ประกันวินาศัย ....คือ การที่ผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยตกลงจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย แบ่งประเภทของการประกันวินาศภัยออกเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน


ประกันภัยรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ คือการประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์

จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance)หมายความถึง การประกันภัยรถยนต์ที่ถูกบังคับโดยกฎหมาย เพื่อความคุ้มครองต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกายบุคคล ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่เรียกว่า"พระราชบัญญัติ" คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ( พ ร บ ) เพื่อให้ประชาชน ผู้ประสบภัย ได้รับความคุ้มครอง และการชดใช้ค่าเสียหายที่แน่นอน รวดเร็ว และเป็นธรรม 
  2. การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)หมายความถึง การประกันภัยที่เกิดขึ้น โดยความสมัครใจของ เจ้าของรถยนต์  ผู้ครอบครองรถยนต์หรือผู้ขับขี่รถยนต์โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมาย แต่อย่างใด การประกันภัยรถยนต์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดประกันภัยในปัจจุบันนี้เป็นการ ประกันภัยในภาคสมัครใจ

ประกันอัคคีภัย

การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance)

    "อัคคีภัย" เหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่นอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ หรือความประมาท อันนำมาซึ่งความสูญเสีย แก่ทั้งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินอันมีค่าของท่าน

     จากที่ได้มีการสำรวจถึงสาเหตุของการเกิดอัคคีภัย พบว่าสาเหตุอันดับหนึ่งนั้นเกิดจากความประมาท โดยจะเกิดเหตุกับอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และร้านค้า ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้สูง ดังนั้น การทำ "ประกันอัคคีภัย" จะทำให้ท่านได้รับความคุ้มครองความสูญเสีย หรือ เสียหายที่เกิดจากเพลิงไหม้ ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่ง ในการเพิ่มความอุ่นใจ และทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 กรมการประกันภัย ยังได้ประกาศใช้กรมธรรม์อัคคีภัยฉบับใหม่ที่จะให้ความคุ้มครอง เฉพาะกับที่อยู่อาศัย เรียกว่า "กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย" (Household Policy) ซึ่งกรมธรรม์ฉบับนี้จะได้รับการปรับปรุง ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้รับประโยชน์ จากการทำประกันอัคคีภัยอย่างเหมาะสม และเป็นธรรมมากขึ้น โดยมีความคุ้มครองเพิ่มเติม จากกรมธรรม์อัคคีภัยปกติ
ผู้มีสิทธิทำประกันอัคคีภัย
          เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้มีสิทธิ์มีผลประโยชน์ และส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง ในทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างที่เอาประกันภัย
สิ่งปลูกสร้าง สำหรับกรมธรรม์อัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย หมายถึง บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด สำหรับอยู่อาศัย โรงรถ กำแพง รั้ว ประตู ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต คอนโดมีเนียม


ประกันสุขภาพ

  การประกันสุขภาพคืออะไร
      การประกันภัยประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงที่จะชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรืออุบัติเหตุก็ตาม
          คำว่า “ สุขภาพ ” มีความหมายครอบคลุมเพียงใด
      ในการประกันสุขภาพนั้นจะครอบคลุมถึง “ การเจ็บป่วย ” จากโรคภัยและ “ การบาดเจ็บ ” จากอุบัติเหตุ
          การประกันสุขภาพมีกี่ประเภท
      แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพหมู่ และการประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพรายบุคคล ให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน

     ความคุ้มครองหลักสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 หมวด คืออะไรบ้าง
1. การอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะคนไข้ในติดต่อกันไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
1.1 ค่าห้องและค่าอาหาร
1.2 ค่าบริการทั่วไป
1.3 ค่ารักษาพยาบาล ฉุกเฉิน หลังการเกิดอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมง
2. การรักษาพยาบาลโดยการผ่าตัด และค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด •
3. การดูแลโดยแพทย์
4. การรักษาพยาบาลที่เกิดจากคลีนิค หรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
5. การคลอดบุตร
6. การรักษาฟัน
7. การดูแลโดยพยาบาลพิเศษ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์

ประกันสังคม


หลายคนที่มีรายได้จากการทำงาน อาจจะสงสัยว่าทำไมเราถึงโดนหักเงินเดือนออกไป เพื่อไปจ่ายประกันสังคม 
ลองมาทำความรู้จัก ว่าประกันสังคมคืออะไร แล้วทำไมถึงต้องจ่ายประกันสังคม 
ประกันสังคม คือ ระบบประกันสังคม เป็นสิ่งที่ต่างประเทศได้มีมานานแล้วแต่เมืองไทยเพิ่งเริ่มจะมี โดยชื่อ "ประกันสังคม" จะบ่งบอกความหมายได้พอสมควร 


คำแรก "ประกัน" จะมีความหมายในแนวว่า เราจะต้องมีการจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันว่าหากมีอะไรเกิดขึ้นเราจะได้รับความคุ้มครองคล้าย ๆ กับประกันรถยนต์ หรือประกันชีวิต 

ดังนั้นประกันสังคม จึงเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง (3% ของเงินเดือน) เพื่อเป็นหลักประกันว่าเราจะได้รับความคุ้มครอง 

ทั้งในเรื่องการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต รวมทั้งจะได้เงินบำนาญใช้ในยามแก่อีกด้วย
ข้อดีของประกันสังคม คือลูกจ้างอย่างเรา จะจ่ายเงินประกันนี้ (เรียกว่าเงินสมทบ) เพียง 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น เพราะผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ 

1. รัฐบาล 
2. นายจ้าง 
3. ลูกจ้าง 

ดังนั้นลูกจ้างจึง จ่ายเงินเข้ากองทุนเพียง 3 % ของค่าจ้าง และรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากขึ้น คุ้มค่าเกินกว่ามูลค่าเงินที่เราลงไป
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2013. ดาวน์โหลดฟอร์ม - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger